องค์การบริหารส่วนตำบลเมือง
องค์การบริหารส่วนตำบล
เมือง
อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
insert_drive_file ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติความเป็นมา ตำบลเมืองเริ่มตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๗ ซึ่งในขณะนั้นมีหมู่บ้านอยู่เพียง ๓ หมู่บ้าน ปกครองโดยผู้นำเรียงตามลำดับ ดังนี้ (๑) หลวงมนตรี บุตรดีสุวรรณ (๒) ขุนโสม โฉมนคร (๓) นายมา โฉมนคร (๔) นายจ่าน จันทร์สว่าง (๕) นายเนตร บุตรดีสุวรรณ (๖) นายเวช แสงชมพู (๗) นายศรลักษณ์ ศรีสร้างคอม (๘) นายโกเมธ สุทธิรักษ์ ในสมัยนายเวช แสงชมพู เป็นกำนันตำบลเมืองได้เจริญพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และมีหมู่บ้านเพิ่มขึ้นเป็น ๑๗ หมู่บ้าน ทางราชการเห็น เป็นตำบลที่ใหญ่ซึ่งยากแก่การปกครองดูแล จึงได้แยกหมู่บ้านออกไป ๘ หมู่บ้าน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ตั้งเป็นตำบลชัยพฤกษ์ ที่เหลืออีก ๙ หมู่บ้านเป็นตำบลเมือง และในปัจจุบัน ได้เพิ่มเป็น ๑๓ หมู่บ้านได้แก่ (๑) บ้านกำเนิดเพชร หมู่ที่ 1 (๒) บ้านท่าแพ หมู่ที่ 2 (๓) บ้านปากภู หมู่ที 3 (๔) บ้านน้ำภู หมู่ที่ 4 (๕) บ้านหนองผักก้าม หมู่ที่ 5 (๖) บ้านสามแยก หมู่ที่ 6 (๗) บ้านน้อยสนามบิน หมู่ที่ 7 (๘) บ้านเพชรเจริญ หมู่ที่ 8 (๙) บ้านโพนไทร หมู่ที่ 9 (๑๐) บ้านน้ำภู หมู่ที่ 10 (๑๑) บ้านกำเนิดเพชร หมู่ที่ 11 (๑๒) บ้านกำเนิดเพชร หมู่ที่ 12 (๑๓) บ้านหนองผักก้าม หมู่ที่ 13 การท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวสำคัญในพื้นที่ตำบลเมือง - วัดดอยชลธาราม หมู่ ๗ ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย - วัดชลประทาน หมู่ ๒ ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย - หนองหล่ม หมู่ ๑๑ ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย - อ่างเก็บน้ำพาว หมู่ ๑๑ ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย - ถ้ำพญานาค หมู่ ๑๑ ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
สภาพทั่วไป
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญ 1.ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นเขตปกครองของอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ตั้งอยู่เลขที 362 หมู่ที่ 1 ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย อยู่ห่างจากที่ทำการ อำเภอเมืองเลย และศาลากลางจังหวัดเลย ประมาณ 5 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังต่อไปนี้ พิกัดที่ตั้ง เส้นรุ้ง 17.54 ละติจูด เส้นแวง 101.7 ลองจิจูด อาณาเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลกกดู่ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 2.เนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเมือง มีเนื้อที่ประมาณ 31,606 ไร่ หรือ 50.57 ตารางกิโลเมตร ที่ดิน/ที่สาธารณะประโยชน์ ตำบลเมืองมีพื้นที่บางส่วนตั้งอยู่ในเขตป่าสงวน คือ หมู่ที่ 2,4,5,7,10,11 และพื้นที่บางส่วนเป็นที่สาธารณะประโยชน์ คือ หมู่ที่ 1 – 11 3.สภาพภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลเมือง มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา สลับเนินเขาโดยเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งที่มีแม่น้ำเลยไหลผ่าน ทำให้มีน้ำตลอดทั้งปี ประกอบกับสภาพพื้นที่เหมาะสม กับการทำไร่ ทำสวนและทำนา ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสวนผลไม้สวนยางพารา มะขามหวาน ถั่วเหลือง และนาข้าว เป็นต้น ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชน ในเขตตำบลเมืองเป็นรายได้หลักในแต่ละปี 4.สภาพภูมิอากาศ ตำบลเมือง แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ฤดูฝนแบ่งเป็น 2 ช่วง คือช่วงแรกเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม เป็นฝนเนื่องมาจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ช่วงหลังเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงปลายเดือนตุลาคมจะเป็นฝนเนื่องมาจากพายุดีเปรสชั่นในทะเลจีนใต้ ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์
สภาพทั่วไป


บริการขั้นพื้นฐาน
การคมนาคม ตำบลเมืองมีถนนลาดยาง (ถนนเลย-เชียงคาน) ติดต่อกับอำเภอเมืองเลย เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 20 นาที มีรถรับจ้างอย่างสม่ำเสมอ การโทรคมนาคม - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง - โทรศัพท์สาธารณะ 22 แห่ง - สถานีโทรคมนาคมอื่นๆ 1 แห่ง (สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเลย) การไฟฟ้า - มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน แหล่งน้ำธรรมชาติ - ลำน้ำ/ห้วย 26 แห่ง - บึง/หนองและอื่นๆ 9 แห่ง แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - สระ 10 แห่ง - ฝาย 20 แห่ง - คลอง 14 แห่ง - บ่อน้ำดื่ม 173 แห่ง - บ่อบาดาล 20 แห่ง - บ่อน้ำตื้น 170 แห่ง - ประปา 9 แห่ง - ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส 26 ถัง - โอ่งน้ำ 351 ใบ ระบบบำบัดขยะมูลฝอยของชุมชน - มีรถเก็บขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลเมือง จำนวน 3 คัน บริการเก็บขยะให้ทุกหมู่บ้าน
สภาพสังคม




สินค้า OTOP
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เครื่องจักสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น นายประดิษฐ์ ทิพนนท์ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 54 หมู่ 4 ตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย ลักษณะของผลงาน เครื่องจักสาน คือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย จากฝีมือความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้านมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ วัสดุอุปกรณ์คตินิยม และอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆคำว่า “ จักสาน” คำว่า จัก คือ การทำให้เป็นแฉก เป็นหยักๆ ด้วยฟันเลื่อย หรืออีกวิธีการหนึ่ง การที่ชาวบ้านใช้คมมีดผ่าไม้ไผ่แล้วทำให้เป็นเส้นบางๆ วิธีการอย่างนี้ก็เรียกว่า จัก เช่นกัน ส่านไม้ไผ่ หรือ หวาย ที่จักออกมาเป็นเส้นบางๆ นั้นเรียกว่า ตอก ถึงตอนนี้การที่ชาวบ้านนำตอกมาขัดกันจนเกิด ลวดลายที่ต้องการ เราเรียกว่า สาน ต่อจากนั้นแล้วก็จะเป็นการสร้างสรรค์ให้เกิดรูปทรงต่างๆ จนท้ายที่สุดเป็น หวด และภาชนะสามารถนำไปใช้สอยได้ตามต้องการ5. วัสดุที่ใช้ในการทำ วัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องจักสาน ภูมิประเทศเกือบทุกภาคของประเทศไทยล้วนเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีพืชพันธุ์นานาชนิดสามารถนำมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างวัสดุที่นำมาทำเครื่องจักสานได้ดีคือ ไม้ไผ่ นำมาทำเครื่องใช้ในครัวเรือนได้เกือบทุกชนิด เช่น หวด กระด้ง กระเชอ กระชอน สานเป็นเครื่องดักจับสัตว์น้ำเช่น ไซ ข้อง ฯลฯ และ สานเป็นฝาเรือน ฝาบ้าน เป็นต้น นายบุญศรี ราชธานี สถานที่ผลิตตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 146 หมู่ 4 ตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย เบอร์โทร 08-57526267 ลักษณะของผลงาน เป็นตาข่ายซึ่งถักด้วยด้าย ซึ่งมีความกว้างประมาณครึ่งเมตร และความยาวประมาณหนึ่งเมตรหรือหนึ่งเมตรกว่า แล้วแต่การผลิตหรือความต้องการนำไปใช้ประโยชน์ ช่วงสุดท้ายของด้ายที่ถักแล้วจะทำเป็นโครงไม้ไผ่เพื่อยึดโครงด้านล้าง วัสดุที่ใช้ในการทำ 5.1 ไม้ไผ่ที่ใช้ทำเป็นไม้ปานเพื่อใช้ในการถัก 5.2 ไม้ไผ่ที่ใช้สำหรับพันกอได้เก็บได้ให้เป็นม้วน 5.3 ไม้ไผ่ที่ใช้สำหรับทำเป็นโครงสามเหลี่ยมเพื่อยึดหลังจากที่ถักสหวิงได้ระยะที่กำหนดแล้ว 5.4 ด้ายไนรอนที่ซื้อจากท้องตลาดเบอร์ 6 หรือ เรียกว่าด้ายไนรอนรัง 6
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างส่วนราชการ องค์การบริหารส่วนตำบลเมือง ได้ถูกจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ และได้กำหนดโครงสร้างการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเมือง ออกเป็น 3 ส่วนสำคัญๆ และมีบุคลากรตำแหน่งต่างๆ ดังนี้ คณะผู้บริหาร ประกอบด้วย นายก อบต.จำนวน 1 คน รองนายก จำนวน 2 คน และเลขานุการนายก จำนวน 1 คน ฝ่ายสภา อบต. ประกอบด้วย ประธานสภา รองประธานสภา เลขานุการสภา สมาชิก จำนวน 25 คน ข้าราชการ จำนวน 25 คน ลูกจ้างประจำ 7 คน พนักงานจ้างตามภารกิจ 22 คน พนักงานจ้างทั่วไป 13 คน กระบวนการบริหารงานบุคคลจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ของฝ่ายข้าราชการประจำและเป็นผู้แทน ของท้องถิ่นในการกระทำนิติกรรมต่างๆ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในส่วนของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง